fbpx
cropped-UD-COLOR-02.pngcropped-UD-COLOR-02.pngcropped-UD-COLOR-02.pngcropped-UD-COLOR-02.png
  • Home
  • About
  • Review
    • Review Surgury
      • Nose ศัลยกรรมเสริมจมูก
      • Facelock ศัลยกรรมดึงหน้า
      • Chin ศัลยกรรมเสริมคาง
      • Eye ศัลยกรรมตา 2 ชั้น
    • Review หัตถการ
      • รีวิวปรับรูปหน้า
      • รีวิว Filler
      • รีวิว Mesofat
      • รีวิวสลายไขมันตัว
      • รีวิวร้อยไหม
      • รีวิวฉีดวิตามินผิว
      • รีวิวดูแลผิวหน้า
  • Promotion
  • Article
  • Contact
✕
การทำ Face-Lock กระชับใบหน้าบอกลาความหย่อนคล้อย
พฤศจิกายน 21, 2022
ฟิลเลอร์ คือ อะไร ฉีดแล้วเห็นผลไหม อันตรายหรือเปล่า ?
พฤศจิกายน 21, 2022

คีลอยด์ รักษาได้ เรียกความมั่นใจกลับคืน

หลาย ๆ คนมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหา “รอยแผลเป็น” ที่คอยกวนใจ ซึ่งอาจทำเสียความมั่นใจทุกครั้งเมื่อมองเห็น และยิ่งถ้าเป็น คีลอยด์ หรือรอยแผลเป็นนูน ก็ยิ่งสังเกตเห็นได้ชัด ถึงแม้ว่ามันจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่มันก็ส่งผลด้านความสวยงาม และสภาพจิตใจได้เช่นกัน เพราะคีลอยด์เป็นรอยแผลที่มีขนาดขยายใหญ่กว่ารอยแผลที่เกิดขึ้น 

ซึ่งทิ้งร่องรอยของความเจ็บปวดเอาไว้ให้เห็นได้อย่างเด่นชัด แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ ซึ่งจะช่วยทำให้แผลเป็นคีลอยด์นั้นเรียบเนียนกลืนไปกับผิว นับเป็นข่าวดีสำหรับคนที่ต้องการเรียกความมั่นใจกลับคืนมา ด้วยการรักษาแผลเป็นกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านผิวหนัง

คีลอยด์

Keloid

โดยทั่วไปแล้วผิวหนังมีกระบวนการซ่อมแซมบาดแผลตามธรรมชาติด้วยกัน 3 ระยะ ซึ่งสาเหตุของการเกิดแผลเป็นนั้นมาจากความผิดปกติของกระบวนการรักษาแผล และ คีลอยด์ (Keloid) เป็นภาวะที่เนื้อเยื่อเจริญเติบโตมากกว่าปกติ หรือมีการสร้างคอลลาเจนมากเกินกว่าปกติ จนเกิดความไม่สมดุลของคอลลาเจน และเกิดเป็นแผลนูนในที่สุด

ซึ่ง Keloid จะถูกจัดอยู่ในประเภทของรอยแผลเป็นชนิดหนึ่ง โดยรอยแผลเป็นมีลักษณะนูนเป็นก้อน ส่วนใหญ่มักจะมีสีแดง หรืออาจจะพบว่าเป็นสีคล้ำ คล้าย ๆ รอยช้ำ ผิวสัมผัสของแผลเป็นจะเหมือนกับยาง ในบางครั้งอาจจะมีอาการคัน หรือเจ็บ รู้สึกตึงที่ผิวร่วมด้วย Keloid มักจะพบได้บ่อย ๆ ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นที่บริเวณ หัวไหล่ หน้าอก ใบหู รวมไปถึงติ่งหูด้วย โดยมีสาเหตุมาจากบาดแผลที่เกิดจากสิว การฉีดวัคซีน การเจาะหู หรือแม้กระทั่งแผลผ่าตัดต่าง ๆ

วิธีการรักษาและการบรรเทา

  • ซิลิโคน : ซิลิโคนที่มาในรูปแบบของเนื้อเจล หรือแผ่นเจลสำหรับแปะ ที่ใช้สำหรับการกดทับแผลเป็นที่นูนอยู่ให้แบนลง เหมาะสำหรับแผลที่ไม่นูนมาก แต่ในการทาเจลหรือแปะแผ่นซิลิโคนต้องมีวินัยและใช้อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ตามคำแนะนำของแพทย์
  • การฉีดยาเสตียรอยด์ : หรือที่เรียกว่าการฉีดคีลอยด์ เป็นวิธีการรักษาแบบมาตรฐาน โดยใช้ตัวยา Triamcinolone acetonide ที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ยับยั้งการทำงานของเซลล์ผิวทุกชนิด ซึ่งแพทย์จะทำการฉีดยาเข้าไปที่บริเวณแผลคีลอยด์โดยตรง หลังจากการฉีดแผลคีลอยด์จะยุบลง นุ่มขึ้น หายจากอาการเจ็บและคัน
  • การผ่าตัด : สำหรับการผ่าตัดแผลคีลอยด์ที่จะช่วยลดขนาดของแผลให้เล็กลงนั้น ส่วนใหญ่จะถูกรักษาด้วยวิธีนี้ก็ต่อเมื่อการรักษาแผลคีลอยด์เบื้องต้นแล้วได้ผลลัพธ์ไม่ดีเท่าที่ควร และต้องเป็นแผลที่อยู่ในบริเวณที่สามารถทำการผ่าตัดได้ หลังจากการผ่าตัดในช่วงแรกจะต้องใช้ผ้ายืดใส่ทับบริเวณแผลคีลอยด์ เพื่อป้องกันไม่ให้แผลนูนซ้ำ และต้องรักษาแผลควบคู่ไปกับวิธีการรักษาอื่นด้วย เพราะ มีโอกาสที่จะกลับไปเป็นซ้ำได้ถึงแม้ว่าจะผ่าออกไปแล้วก็ตาม
  • รักษาด้วยความเย็นจัด : วิธีนี้เหมาะสำหรับแผลเป็นนูนที่มีขนาดเล็ก โดยในการรักษาจะให้แผลคีลอยด์ได้สัมผัสกับความเย็นสูงจากไนโตรเจนเหลว ซึ่งจะต้องรักษาควบคู่กับวิธีการรักษาด้วยการฉีดยาเสตียรอยด์ ผลของการรักษาจะช่วยให้แผลเป็นนูนยุบตัวลง และยังสามารถหยุดการเจริญเติบโตของคีลอยด์ได้หากได้รับการรักษาตั้งแต่ในช่วงระยะแรก 
  • เลเซอร์ : เลเซอร์คีลอยด์ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการรักษาแผลคีลอยด์ ด้วยการใช้เลเซอร์ที่อ่อนโยนต่อผิว  ซึ่งจะเป็นความยาวช่วงคลื่นที่มีผลต่อหลอดเลือด หรือในการรักษาอาจจะใช้เลเซอร์ที่มีความยาวช่วงคลื่นที่ 1064 ความยาวช่วงดังกล่าวสามารถลงลึกได้ถึงชั้นใต้ผิวหนัง ส่งผลในเรื่องของการเรียงตัวของคอลลาเจน ที่จะช่วยให้แผลเรียบเนียนขึ้น สำหรับวิธีการรักษาด้วยเลเซอร์มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
คีลอยด์

การป้องกันการเกิด Keloid

สำหรับวิธีการป้องกันการเกิดแผลเป็นนูนหลังจากากรเกิดบาดแผลอาจจะเป็นเรื่องที่ระมัดระวังได้ค่อนข้างยาก สิ่งจำเป็นที่ต้องทำเมื่อเกิดบาดแผล คือต้องหมั่นล้างแผล ทำความสะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่จะเกิดขึ้น และในกรณีของบาดแผลฉีกขาดที่มีการเย็บแผล จะต้องตัดไหมและทำตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการเกิดแผลเป็นนูนในภายหลัง

วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันการเกิดแผลเป็นนูนเลยก็คือ การที่ทำให้ตัวเองไม่เกิดบาดแผล หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดบาดแผลน้อยมาก ๆ เช่นการเลี่ยงการสักตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การเจาะหู รวมไปถึงการผ่าตัดในกรณีต่าง ๆ ในบางครั้งการป้องกันอาจจะเป็นไปได้ยาก ถ้าหากเกิดบาดแผลหรือมีประวัติเคยเกิดแผลเป็นนูน ควรขอรับคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทาง เพื่อหาทางป้องกันการเกิดแผลเป็น

ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดแผลคีลอยด์ เพราะการเกิดแผลเป็นนูนอาจเกิดได้ทั้งจากปัจจัยทางพันธุกรรม เชื้อชาติ รวมไปจนถึงอายุ ซึ่งแผลเป็นนูน Keloid มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยจะมีอายุอยู่ในช่วง 10-30 ปี ซึ่งแต่ละรายมักจะมีประวัติพบว่าสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นแผลคีลอยด์มาก่อน และในการรักษาแผลเป็นนูนไม่ว่าจะด้วยวิธีใดตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น 

คุณสามารถมั่นใจได้เลยว่า “ในการรักษาจะไม่มีผลข้างเคียงต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกาย” และหลังจากการรักษาแผล Keloid เป็นอย่างดีจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว บริเวณที่เคยเป็นแผลจะยุบลงกลับมาใกล้เคียงกับผิวเดิม แต่ทั้งนี้แล้วผลลัพธ์ของรักษาก็ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้วิธีการรักษาอย่างเหมาะสม ก่อนการรักษาควรเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง

Related posts

มีนาคม 26, 2023

รู้หรือไม่ ? การดึงหน้า มีมาตั้งแต่ในช่วงยุค 1900s


Read more
UD-Foot Web-PNG-18

เสริมจมูก ∣ ศัลยกรรมดึงหน้า ∣ แฟตสลายไขมันตัว

ฟิลเลอร์ ∣ ร้อยไหม ∣ เสริมคาง ∣ ตา 2 ชั้น

โบปรับรูปหน้า ∣ เลเซอร์ ∣ ฉีดวิตามินผิว

UD-Foot Web-PNG-06

All Rights Reserved | Powered by Tanisorn UD CLINIC

UD-Foot Web-PNG-17
UD CLINIC จ.อุดรธานี
UD CLINIC จ.อุบลราชธานี
UD CLINIC จ.นครราชสีมา>หัตถการ
UD CLINIC จ.นครราชสีมา>ศัลยกรรม
UD CLINIC ตึก Gmm Grammy กรุงเทพมหานคร
UD CLINIC จ.สุรินทร์
UD CLINIC จ.ขอนแก่น