ในปัจจุบันการฉีดฟิลเลอร์ Filler เป็นหัตถการที่ได้รับความนิยม เป็นอย่างสูง เพราะสามารถแก้ไขปัญหาผิว บนใบหน้าได้เป็นอย่างดี ทั้งการใช้เป็น Skin Booster การฉีดปรับรูปหน้า การฉีด ฟิลเลอร์ใต้ตา การฉีดเติมเต็มร่องลึก อย่าง ฟิลเลอร์ร่องแก้ม เพื่อคืนความอ่อนเยาว์ให้กับใบหน้า สำหรับคนที่ยังไม่เคยฉีดฟิลเลอร์ อาจจะมีความกังวล ทั้งเรื่องของอาการข้างเคียง หลังการฉีดฟิลเลอร์ รวมไปถึงการฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน ซึ่งปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการ ฉีดสลายฟิลเลอร์ ซึ่งในบทความนี้ เราจะเน้นไปที่ สาเหตุของการเกิดก้อนฟิลเลอร์ ที่บริเวณใต้ตา และการรักษาที่เหมาะสม
การฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา
บริเวณใต้ตา จะเป็นตำแหน่งแรก ที่จะเกิดการยุบตัว เนื่องจากโครงสร้างใบหน้า ที่เกิดการเปลี่ยนแปลง เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น และการฉีดฟิลเลอร์เติมเต็ม ที่บริเวณใต้ตา จะสามารถแก้ไขปัญหารอบ ๆ บริเวณดวงตาได้ ทั้งปัญหาริ้วรอยใต้ตา ปัญหาดวงตาลึก ตาโหล ขอบตาคล้ำ รวมไปถึงปัญหาถุงใต้ตา ที่เป็นสาเหตุ ของการมีใบหน้าที่ดูแก่ โทรม ไม่สดใส นอกจากนี้การฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ยังช่วยทำให้ภาพรวมใบหน้า ดูเด็กลงอย่างเห็นได้ชัด นั่นเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมจะต้องเลือก ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา เป็นจุดแรกบนใบหน้า
ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา แล้วเป็นก้อน มีสาเหตุจากกอะไร ?
การฉีด ฟิลเลอร์ใต้ตา จะเป็นการเติมสารประเภท กรดไฮยาลูโรนิค (Hyaluronic acid) เข้าไปยังบริเวณใต้ตา เพื่อแก้ไขปัญหาริ้วรอย ร่องใต้ตา เพื่อทำให้ใบหน้ากลับมาดูสดใส ดูอ่อนเยาว์อีกครั้ง ซึ่งปัญหาที่พบสำหรับ การฉีดฟิลเลอร์ที่บนิเวณใต้ตาก็ คือ ฟิลเลอร์จับตัวเป็นก้อน ซึ่งมักจะมาจากสาเหตุเหล่านี้
- การขยับของกล้ามเนื้อ : โดยปกติแล้วคนเราจะกะพริบตาประมาณ 14,000 ครั้งใน 1 วัน และในการกะพริบตา จะทำให้กล้ามเนื้อ Orbicularis Oculi เกิดการขยับ และทำให้ฟิลเลอร์ที่ฉีดบริเวณใต้ตา ทยอยมากองอยู่ใจุดเดียวกัน ดังนั้นในการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา จึงต้องมีเทคนิคการฉีดโดยเฉพาะ มีการฉีดให้ถูกชั้น และฉีดในปริมาณที่เหมาะสม
- การเลือกใช้ฟิลเลอร์ผิดประเภท : การเลือกใช้ฟิลเลอร์ที่มีเนื้อเจลไม่เหมาะกับการฉีดที่บริเวณใต้ตา เช่น การเลือกฟิลเลอร์ที่มีความหนาแน่น เนื้อเจลแข็ง มาฉีดผิวบริเวณใต้ตาในชั้นตื้น ก็จะทำให้เห็นฟิลเลอร์เป็นก้อนได้ ทั้งนี้รวมไปถึงการเลือกใช้ฟิลเลอร์ปลอม อย่างซิลิโคนเหลว ที่ไม่สามารถสลายตัวได้ จับตัวเป็นก้อนและเคลื่อนตัวไหลไปยังตำแหน่งอื่น ทำให้เป็นก้อน และฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐานด้วย
- เทคนิคการฉีดที่ไม่ถูกต้อง : สำหรับการฉีดฟิลเลอร์ที่บริเวณใต้ตา จำเป็นจะต้องฉีดกับแพทย์ที่มีความชำนาญด้าน ฟิลเลอร์ และเข้าใจโครงสร้างบนใบหน้า และต้องฉีดฟิลเลอร์ให้ถูกตำแหน่ง ฉีดในชั้นผิวที่ถูกต้อง รวมถึงการคำนวณปริมาณฟิลเลอร์ที่เหมาะสม เพราะถ้าหากใช้ฟิลเลอร์มากกินไป หรือมีเทคนิคการฉีดที่ไม่ถูกต้อง ก็จะทำให้เห็นก้อนฟิลเลอร์ที่ใต้ตาได้
การแก้ไขปัญหา ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อน
ในการแก้ไข ฟิลเลอร์ที่จับตัวกันเป็นก้อนในชั้นผิว จะมีการแก้ไขด้วยกัน 3 วิธี ซึ่งในขั้นตอนการแก้ไข จะต้องมีการ ปรึกษากับแพทย์ก่อน เพื่อการวางแผนการรักษา และเลือกวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมกับปัญหามากที่สุด
- ฉีดสลายฟิลเลอร์ : วิธีการฉีดสลายฟิลเลอร์ เหมาะกับการฉีดเพื่อแก้ไขฟิลเลอร์เป็นก้อน ที่เกิดจากการฉีดฟิลเลอร์ประเภท HA (Hyaluronic Acid) เท่านั้น ตัวยาที่ใช้ในการฉีดสลายคือ เอ็นไซม์ที่มีชื่อว่า ไฮยาลูโรนิเดส (Hyarulonidase) โดยแพทย์จะทำการผสมตัวยาในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้การสลายฟิลเลอร์กระทบเนื้อเยื่อในส่วนอื่น หลังการฉีดสลายจะเห็นผลลัพธ์ทันทีในบางส่วน และต้องรอตัวยาออกฤทธิ์เป็นเวลา 1-3 วัน ในบางเคสอาจจะต้องฉีดสลายมากกว่า 1 ครั้ง
- การขูดฟิลเลอร์ : วิธีการขูดฟิลเลอร์ จะเป็นการแก้ไขฟิลเลอร์จับตัวเป็นก้อน จากการฉีดฟิลเลอร์ประเภท ฟิลเลอร์กึ่งถาวร ที่ไม่สามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ เมื่อเวลาผ่านไป ฟิลเลอร์จะเกิดการจับตัวกันเป็นก้อน และในการขูดเอาฟิลเลอร์ออกนั้น ไม่สามารถนำออกได้ทั้งหมด เพราะมีบางส่วนผสานกับเนื้อเยื่อในร่างกายไปแล้ว การขูดฟิลเลอร์จะนำฟิลเลอร์ออกไปได้เพียง 60-70 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
- การผ่าตัด : การผ่าตัดนำเอาฟิลเลอร์ออกจะเป็นวิธี ที่เหมาะกับการแก้ไขปัญหาฟิลเลอร์จับตัวเป็นก้อน ไหลย้อย ที่เกิดจากการฉีดฟิลเลอร์ปลอม ฟิลเลอร์ชนิดถาวร อย่างซิลิโคนเหลว ที่เป็นก้อนขนาดใหญ่ และมีความแข็งมาก ๆ ก้อนฟิลเลอร์จะมีพังผืดเกาะอยู่เป็นจำนวนมาก การผ่าตัดจะไม่สามารถนำเอาก้อนฟลิลเอร์ออกได้ทั้งหมด เพราะจะต้องเลี่ยงเพื่อป้องกันอันตรายในบริเวณจุดสำคัญของใบหน้า เช่น เส้นเลือด เส้นประสาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าฉีดตรงบริเวณใดของใบหน้าด้วย
การฉีดสลายฟิลเลอร์ จะเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้ฟิลเลอร์ประเภท HA เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดจากการฉีดฟิลเลอร์ผิดตำแหน่ง การฉีดฟิลเลอร์แล้วฟิลเลอร์เป็นก้อน ผลลัพธ์จากการฉีดฟิลเลอร์ไม่เป็นที่น่าพอใจ หรือปัญหาที่เกิดจากการใช้ฟิลเลอร์ในปริมาณที่มากเกินไป การฉีดสลายฟิลเลอร์ในบริเวณที่มีการขยับตลอดเวลา โดยตัวเอ็นไซม์ไฮยาลูโรนิเดส จะเข้าไปลดคุณสมบัติการอุ้มน้ำของฟิลเลอร์ HA ทำให้ฟิลเลอร์ค่อย ๆ ยุบตัวลง และสลายไปในที่สุด ซึ่งสามารถสลายออกได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ปลอดภัย หลังจากการฉีดสลายฟิลเลอร์ ผิวจะกลับคืนสู่สภาพเดิมก่อนการฉีดฟิลเลอร์